8เคล็ดลับ รักษาความสะอาดห้องครัวเพื่อสุขอนามัยที่ดี
ความสะอาดในห้องครัวเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง! เพราะเป็นสถานที่ที่เราต้องใช้ประกอบอาหาร แล้วทานเข้าไปทุกวัน ถ้าหากปล่อยให้สกปรก อาหารที่เรากินเข้าไปก็จะไม่ปลอดภัย อาจจะมีเชื้อโรคติดเข้าไป และอาจทำให้เราเป็นโรคร้ายแรงได้
ดังนั้น มาป้องกันไว้ดีกว่าปล่อยแล้วแก้ทีหลังดีกว่า! เริ่มดูแลความสะอาดให้กับห้องครัวเสียตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขอนามัยของคุณและคนที่คุณรัก
และเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ทุกคนมีสุขอนามัย ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี วันนี้เราจึงได้เลือกนำเสนอ 8 เคล็ดลับง่ายๆ ในการดูแลความสะอาดห้องครัว ลองมาดูกันเลยว่ามีวิธีไหนบ้าง ดูแล้วอย่าลืมนำไปปฏิบัติจริงด้วยนะคะ
1. ห้องครัวต้องมีที่ระบายอากาศ
คุณอาจใช้วิธีทำหน้าต่างบานเกล็ด ทำพัดลมระบายอากาศ หรือเปิดหน้าต่าง-ประตูทิ้งไว้ขณะทำอาหารก็ได้ เพื่อให้อากาศได้ถ่ายเทเข้าออก และกลิ่นอาหารได้ระบายออกไปข้างนอกบ้าง เพราะถ้าหากปล่อยให้สะสมอยู่ในบ้านนานๆ จะเกิดกลิ่นเหม็นได้ และนั่นจะพลอยทำให้คุณรู้สึกว่าห้องครัวไม่สะอาดไปด้วย
2. อย่าหมักถ้วยชามเอาไว้เป็นกองภูเขา
ล้างถ้วย จาน ช้อน ส้อม ทุกครั้งหลังทานอาหารเสร็จ หลายคนอาจขี้เกียจ ชอบทิ้งไว้ในอ่างล้างมือ คิดว่าค่อยมาล้างทีหลัง แต่สุดท้ายแล้วก็มักไม่ได้ล้าง กลายเป็นทิ้งหมักไว้กองเท่าภูเขา ผลที่ตามมาคือเศษอาหารเน่าจนเกิดกลิ่นเหม็นหึ่งและมีแมลงหวี่มาตอม และแมลงหวี่เหล่านี้สามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วมาก ยิ่งมีเศษอาหารทิ้งๆเหลือๆยิ่งสะดวกทางพวกมัน พวกมันจะวางไข่ยั้วเยี้ยเต็มไปหมด ถัดจากไข่ก็กลายเป็นหนอน และกลายเป็นแมลงหวี่บินตอมเศษอาหารไปมา น่าขยะแขยงสุดๆ! เพราะฉะนั้น ถ้าไม่อยากให้เป็นแบบนี้ ก็อย่าขี้เกียจล้างจานเป็นอันขาด
3. ใช้วัตถุดิบบางชนิดช่วยดับกลิ่น
เช่น เอาเปลือกมะนาว เปลือกส้ม หรือกลีบหัวหอมไปต้มไฟอ่อนๆ กลิ่นที่ได้ออกมาจากตรงนี้จะสามารถดับกลิ่นเหม็นต่างๆนานาในครัวได้
หรือถ้าหากใครอยากให้สะดวกกว่านี้ ก็อาจเลือกใช้น้ำหอมปรับอากาศชนิดแผ่นแทนได้ ซื้อมาสักแผ่นแล้วเอามาแขวนในห้องครัว เพราะน้ำหอมปรับอากาศแบบแผ่นกลิ่นจะไม่ฉุนเท่ากับแบบน้ำ เหมาะสำหรับสถานที่ประกอบอาหารอย่างห้องครัว
4. ควรโละตู้เย็นบ้างเป็นครั้งคราว
ดีที่สุดคืออาทิตย์ละครั้ง ลองตรวจดูว่ามีอาหารอะไรที่เน่า บูด หรือไม่ได้กินนานมากแล้วบ้าง ถ้าตรวจเจอควรเอาไปทิ้งเสีย เพราะอาหารที่เสียแล้วจะส่งกลิ่นกวนอาหารอย่างอื่นในตู้เย็นได้ นอกจากนี้ถ้าหากมีราขึ้นด้วยจะยิ่งอันตรายมาก
5. ทำความสะอาดเขียงไม้อย่างถูกวิธี
เขียงไม้จะทำความสะอาดยากกว่าเขียงพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณใช้หั่นอาหารที่มีกลิ่นฉุนๆอย่างหัวหอม หรือกระเทียม การใช้แค่น้ำยาล้างจานอาจไม่ได้ผล เราขอแนะนำให้ลองใช้น้ำส้มสายชูแทนดูก่อน จะกำจัดกลิ่นได้ดีกว่า
6. กำจัดกลิ่นอาหารที่อยู่ในกล่องพลาสติก
กล่องใส่อาหารแบบพลาสติก บางครั้งหลังจากเอามาล้างแล้วก็ยังมีกลิ่นอาหารอยู่ วิธีแก้คือให้ลองเอากระดาษหนังสือพิมพ์ยัดเข้าไปข้างใน แล้วทิ้งไว้สัก 1 คืน รุ่งเช้ากลิ่นจะหายได้
7. ควรมีสบู่สูตรฆ่าเชื้อโรคติดไว้ในครัวด้วย
จะเป็นสบู่ก้อน สบู่เหลว หรือสบู่โฟมก็ได้ ไว้ใช้สำหรับล้างมือหลังประกอบอาหารเสร็จ นอกจากนี้ยังอาจเอาผสมกับน้ำ ใช้ผ้าขนหนูชุบ แล้วเช็ดเคาน์เตอร์ หรือรอบๆเตาทำอาหารให้สะอาดก็ได้
8. เอาดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมๆเข้ามาประดับ
เช่น อาจจะตัดกุหลายเข้ามาปักแจกันสักช่อสองช่อ จะได้กลิ่นหอมที่เป็นธรรมชาติ และยิ่งหมั่นรักษาความสะอาดในห้องครัวควบคู่กันไปด้วย รับรองได้ว่าจะไม่มีกลิ่นเหม็นมากวนใจแน่นอน
Cr.ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก homify.co.th
เป็นยังไงบ้าง ไม่ยากใช่ไหม? กับวิธีการทำความสะอาดห้องครัวให้ได้สุขอนามัยที่ดี
สำหรับแม่บ้านมาซากิ” จัดหาแม่บ้านที่ดีที่สุด เพื่อคุณ งานบ้าน…งานที่น่าปวดหัวสำหรับใครหลายคน ซึ่งในแต่ละวันนอกจากคุณจะต้องจัดการกับหลากหลายภาระเรื่องงาน และครอบครัวแล้วยังต้องแบ่งเวลาเพื่อสวมบทแม่บ้านที่ต้องดูแลบ้าน ไม่ว่าจะเป็น งานปัดกวาด เช็ดถู ซักรีด รวมถึงการทำกับข้าว ยังต้องทำภายใต้ระยะเวลาที่ค่อนข้างจำกัด แถมยังต้องต่อสู้กับความเหนื่อยล้าของร่างกายในแต่ละวันอีกด้วย สามารถเลือกใช้บริการกับทางแม่บ้านมาซากิ หาแม่บ้าน พี่เลี้ยงเด็ก คนดูแลผู้สูงอายุ
สนใจใช้บริการติดต่อได้ที่
โทร : 063-104-5657
Line : @masaki2013
10เคล็ดลับ การเลี้ยงเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีที่สุด
เด็กในวัย 5-12 ปีเป็นช่วงสำคัญของเด็กในการเรียนรู้ทักษะชีวิต สมองของเด็กพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทักษะการใช้กล้ามเนื้อพัฒนาอย่างเต็มที่ คุณพ่อคุณแม่ควรหากิจกรรมให้เด็กได้ปลดปล่อยพลังงานวิ่งเล่น ออกกำลังกาย สังเกตว่าลูกสนใจกีฬาประเภทใดเพื่อให้ลูกได้ออกกำลังกายทุกวัน และบทความนี้จะมาบอกเคล็ลับ การเลี้ยงเด็กยังไงให้มีพัฒนาที่ดีแล้วเร็วที่สุด
1. เลี้ยงจากใจไม่ใช่หน้าที่
การเลี้ยงเด็ก เลี้ยงดูลูกอย่างดีที่สุด อย่างถูกต้อง ต้องเข้าใจว่า ลูกต้องการความรักจากคุณ การเลี้ยงด้วยใจ ไม่ใช่แค่ทำไปตามหน้าที่ และก็ไม่ใช่การตามใจลูกทุกครั้งที่ลูกร้องไห้เช่นกัน สิ่งที่คุณแม่ควรปฎิบัติในการเลี้ยงเด็ก คือการสอนให้ลูกเข้าใจว่าการร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือการร้องไห้เพื่อให้ได้สิ่งของที่ต้องการ แบบไหนเหมาะสม และสอนให้เขารู้ว่าไม่ใช่ทุกครั้งที่ลูกร้องไห้แล้วจะได้ทุกอย่างเสมอไป เพื่อให้เขาเข้าใจเหตุผลและไม่เกิดความเครียดได้ค่ะ
2. เลี้ยงลูกด้วยการพูดคุย
ลองจินตนาการดูว่า ลูกคุณถูกเลี้ยงโดยหุ่นยนต์ ไม่มีการพูดการจา ไม่มีการสื่อสารใดๆ ทั้งสิ้น วันๆ ให้เขากินและนอนอย่างเดียว ไม่ได้มอง ไม่ได้เล่น ไม่ได้สมผัส ไม่ได้คิด และพอไม่เกิดสิ่งเหล่านี้สมองก็จะไม่พัฒนาเลย หรือพัฒนาก็ช้ามาก ดังนั้น การเลี้ยงเด็กอย่างได้ผล ให้มีพัฒนาการดี เลี้ยงลูกให้มีสมองที่ฉลาด ให้สื่อสารได้ดี และลดความดื้อ คือการหมั่นพูดคุยกับลูกบ่อยๆ แต่งดการใช้ภาษาแบบเด็ก แต่ต้องพูดเพราะ ด้วยการใช้คำใช้ประโยคที่เข้าใจได้ง่ายๆ ทั่วไป ด้วยความหมายที่เข้าใจได้ทันที เช่น ทานข้าวนะคะ ด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน สิ่งที่คุณแม่ควรปฎิบัติ: พูดกับลูกโดยใช้ภาษาที่คุณถนัดที่สุด และใช้คำศัพท์ที่หลากหลาย และอย่าประเมินเรื่องการได้ยิน การเข้าใจภาษาของลูกต่ำไป
3. การเลี้ยงดูลูกด้วยการสัมผัส
การเลี้ยงลูกด้วยสัมผัสจะช่วยกระตุ้นความรู้สึกต่างๆของลูกรวมถึงการเรียนรู้ ทั้งยังมีส่วนช่วยให้ลูกรู้สึกอุ่นใจและปลอดภัยมากขึ้นด้วย สิ่งที่คุณแม่ควรปฎิบัติ : พยายามสัมผัสโดยการโอบกอด หอม จับมือ คุณแม่อาจนวดตัวให้ลูกทั่วร่างกายหลังอาบน้ำให้ลูกพร้อมพูดคุยเรื่องต่างๆ ไปด้วยค่ะ
4. เลี้ยงเด็กให้เลียนแบบ
ลูกจะสนใจมองหน้าคุณเป็นพิเศษ เด็กแรกเกิดจะจ้องตาคุณและพยายามเลียนแบบสีหน้าท่าทางของคุณ เช่น การยิ้มหรือการทำหน้าหงุดหงิด สิ่งที่คุณแม่ควรปฎิบัติ : ให้กำลังใจและให้ลูกทำหน้าตาท่าทางเหมือนคุณ เช่น ยิ้ม จ้อง หัวเราะ ทำหน้าดุ แลบลิ้น เพื่อช่วยบริหารใบหน้าลูกด้วย
5. ให้ลูกได้เจอประสบการณ์ใหม่ๆ เองบ้าง
พยายามให้ลูกได้พบเจอและมีส่วนร่วมในสถานการณ์ต่างๆรอบๆตัวเพื่อช่วยเพิ่มทักษะในการเรียนรู้ สิ่งที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง : การปล่อยให้ลูกดูทีวีไปเรื่อยๆ ไม่ใช่สิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนทักษะได้ แต่การให้ลูกได้ออกไปพบเจอสิ่งต่างๆในโลกภายนอกที่เป็นของจริงจะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดีกว่าค่ะ
6. เลี้ยงเด็กให้หัดสำรวจ
ส่งเสริมให้ลูกเป็นนักสำรวจได้ด้วยการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีพื้นที่เป็นของตัวเองให้ลูกได้ทำกิจกรรมการค้นหา เช่น ห้องนั่งเล่น สิ่งที่คุณแม่ควรปฎิบัติ : ควรวางสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายให้ห่างจากลูกมากที่สุด เก็บสายไฟหรือปลั๊กให้พ้นมือลูก และเลือกของเล่นที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับวัยของลูก
7. เลี้ยงเด็กให้รักการอ่าน
เสริมทักษะการอ่านให้ลูกง่ายๆด้วยการอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่วัยเด็ก ลูกอาจจะไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณเล่า แต่จะรู้สึกสนุกและมีส่วนร่วมกับเสียงหรือท่าทางต่างๆของคุณ และภาพประกอบในหนังสือหรือนิทานนั้น สิ่งที่คุณแม่ควรปฎิบัติ : ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกหนังสือหรือนิทาน หนังสือนิทานแบบป๊อบอัพหรือแบบที่มีพื้นผิวให้สัมผัส สามารถเรียกความสนใจจากลูกได้
8. ใช้ดนตรีช่วย
การเลี้ยงเด็กให้ฉลาด การร้องเพลงหรือเล่นดนตรีให้ลูกฟังส่งผลดีต่อพัฒนาการทางสมองของลูกอย่างมาก โดยเฉพาะเพลงที่มีจังหวะสม่ำเสมอ สิ่งที่คุณแม่ควรปฎิบัติ: ลองแต่งเพลงขึ้นใหม่ อาจเป็นเพลงง่ายๆ สบายๆ เนื้อร้องที่สนุกๆ หรือล้อเลียนเพื่อให้คุณและลูกได้มีเวลาแห่งความสนุกร่วมกัน หรือเปิดเพลงเวลาทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เพลงช้าๆเวลาป้อนอาหาร หรือเพลงสนุกๆ เวลาเล่นกับลูก
9. ปล่อยให้ลูกได้เล่น
การเลี้ยงลูกด้วยการปล่อยให้เด็กได้เล่น ให้มีความสนุก นั่นคือสิ่งที่ลูกเรียนรู้ กิจกรรมและการเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ให้กับลูกได้ สิ่งที่คุณแม่ควรปฎิบัติ : ลองใช้อุปกรณ์ที่เน้นด้านกราฟฟิค เช่น การ์ดสีสันต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจและเป็นการฝึกทักษะการเอาใจใส่ไปในตัว และอย่าลืมอธิบายสีและรูปภาพต่างๆ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ไปด้วย
10. ใช้คำชมช่วยเลี้ยงลูก
ให้กำลังใจหรือคำชมเชยเมื่อลูกทำสิ่งที่ถูกต้อง และให้ลูกได้เรียนรู้และสำรวจในสิ่งที่เขาชอบ สิ่งที่คุณแม่ควรปฎิบัติ: ให้กำลังใจลูก เช่น “หนูทำได้นะคะ” หรือ “เก่งมากค่ะ” เวลาที่ลูกทำสำเร็จ และใส่ใจในกิจกรรมที่ลูกทำเพื่อให้เขาไม่รู้สึกกังวลและให้รางวัลตอบแทนเป็นบางครั้ง (วิธนี้ไม่เหมาะกับเด็กโตที่เริ่มพูดคุยได้แล้ว เพราะจะทำให้เขาคิดว่า ต้องเก่งเท่านั้น ต้องทำถูกเท่านั้น ถึงจะดี ถึงจะได้คำชม ซึ่งพ่อแม่ควรอย่าลืมว่า ความผิดพลาดต่างหาก ถึงจะเป็นครูสอนลูกได้ดีที่สุด)
Cr.ขอบคุณจ้อมูลดีๆ จาก DMEN ฮาร์ท ทู ฮาร์ท คลับ
หากคุณกำลังมองหาพี่เลี้ยงเด็ก สามารถใช้บริการจากศูนย์จัดหาแม่บ้าน พี่เลี้ยงเด็ก คนงานมีผ่านประสบการณ์เลี้ยงน้องมากอย่างยาวนาน
สนใจใช้บริการติดต่อได้ที่
โทร : 063-104-5657
Line : @masaki2013
แบบไหนดีกว่าระหว่าง แม่บ้านอยู่ประจำ หรือ แม่บ้านรายวัน
แม่บ้านรายวัน กับ แม่บ้านอยู่ประจำ ถ้ามองแค่ภายนอกอาจคิดว่ามีลักษณะงานที่ใกล้เคียงกัน แต่ถ้าศึกษากันดีๆ จะพบว่ามีความแตกต่างกันมาก ทั้งรูปแบบการจ้างงาน และรายละเอียดการทำงาน และสิ่งที่คุณต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแม่บ้านสองรูปแบบนี้มีอะไรบ้าง ตามมาดูในบทความนี้กันเลย
- ซื่อสัตย์สุจริต การจะเป็นแม่บ้านที่ดีนั้น ควรคิดอยู่เสมอว่า เราเป็นบุคคลภายนอกครอบครัวที่เข้ามาทำความสะอาดภายในบ้านของนายจ้าง หากปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตย่อมส่งผลดีต่อความเชื่อใจในระยะยาวได้อย่างแน่นอน
- ขยันขันแข็งในหน้าที่ มีสมาธิในงานที่ต้องทำ แม่บ้านที่ดีต้องใส่ใจทุกรายละเอียดของการทำงานบ้าน เพราะเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและจุกจิก ยิ่งใครที่ทำความสะอาดได้ดีและมีความเป็นระเบียบ นายจ้างจะมีความสุขและอยากต้องการจ้างแม่บ้านคนนี้ทำงานต่อไปนานๆ และอาจเพิ่มโอกาสในการเติบโตในสายงานแม่บ้านในอนาคต
- ไม่เอาเรื่องราวในบ้านนายจ้างไปเม้ามอยต่อภายนอก หากนายจ้างรู้ว่าลูกจ้างนำเรื่องราวภายในบ้านไปพูดกับคนอื่นข้างนอกในทางไม่ดี อาจเกิดปัญหาตามมาในระยะยาวได้ เพราะฉะนั้น อย่าไปสนใจกับเรื่องราวของนายจ้างและหันมาสนใจกับการทำงานของเราจะดีกว่า
- หน้าตาเป็นมิตร และยิ้มแย้มแจ่มใสอย่างอารมณ์ดี นายจ้างทุกคนคงอยากเห็นแม่บ้านมีความสุขกับงานที่ทำผ่านสีหน้า แววตา หรือท่าทาง ดังนั้น หากนายจ้างจะจู้จี้จุกจิกบ้าง อยากให้แม่บ้านมีสติ ระงับอารมณ์ ไม่แสดงสีหน้าท่าทางออกมา และทำตามเป้าหมายในเนื้องานที่ทำ พร้อมพึงระลึกเสมอว่า ไม่มีใครที่อยากร่วมงานกับคนที่มีสีหน้าไม่พอใจตลอดเวลา หากมีปัญหาเรื่องการทำงานจริงๆ ควรปรึกษาแอดมินหรือเซลส์ที่ให้งานคุณ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป
แม่บ้านรายวัน กับ แม่บ้านอยู่ประจำ แตกต่างกันอย่างไร
แม่บ้านรายวันกับแม่บ้านประจำ จะแตกต่างกันตามสถานการณ์การทำงาน และรูปแบบการทำงาน ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้
1. รูปแบบการจ้างงาน และการเดินทางไปบ้านนายจ้าง
อย่างที่ทราบกันว่า การจ้างแม่บ้านรายวัน กับแม่บ้านอยู่ประจำ จะแตกต่างกัน โดยแบบรายวันนั้น จะจ้างกันเป็นช่วงสั้นๆ อาจจะเป็นรายชั่วโมง รายวัน หรือรายสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับลักษณะงานของนายจ้างที่อยากให้แม่บ้านทำ ซึ่งนอกจากต้องทำงานให้ได้ตามมาตรฐานของแม่บ้านแล้ว แม่บ้านรายวันเองต้องบริหารจัดการเวลาให้ดีๆ ตั้งแต่การเดินทางไปยังบ้านนายจ้าง จะโหนรถเมล์ นั่งจักรยานยนต์รับจ้าง นั่งรถไฟฟ้า ลงเรือ เดินเข้าซอย ต้องดูว่าบ้านนายจ้างอยู่ที่ใด หากไปผิดนอกจากเสียเวลาแล้ว อาจจะโดนนายจ้างตำหนิได ส่วนการเป็นแม่บ้านรายเดือนจะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง โดยได้รับมอบหมายงานให้ทำตามแผนงานในแต่ละวันที่ชัดเจน ทำให้มาตรฐานในการทำความสะอาดจะมีประสิทธิภาพตลอดเวลา และนายจ้างสามารถประเมินผลงานได้ตลอดเวลาเช่นกัน
2. ความคุ้นเคย และความไว้วางใจระหว่างนายจ้างกับแม่บ้าน
แม่บ้านที่เข้ามาทำงานบ้านของนายจ้าง เปรียบเสมือนพนักงานบริษัท หรือคนในครอบครัวที่จะเห็นหน้ากันบ่อยจนสนิทสนมกัน หากวัดผลเรื่องความไว้วางใจและความคุ้นเคยภายในบ้าน แม่บ้านอยู่ประจำ ย่อมคุ้นเคยและทำงานโปร่งใสให้นายจ้างสบายใจมากกว่า ส่วนแม่บ้านรายวัน ก็สามารถทำงานให้นายจ้างไว้วางใจได้ดีเช่นกัน แต่จะต้องแจ้งนายจ้างตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนเริ่มงาน ว่า หากจะเข้าออกห้องส่วนตัวเพื่อทำความสะอาด หรือมีของมีค่า ต้องรีบแจ้งนายจ้างทันทีว่า เราเป็นแม่บ้านรายวัน เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าเรามาทำงาน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับของมีค่าหรือของใช้ส่วนตัวนายจ้าง
3. ทักษะพิเศษของแม่บ้าน
ทักษะพิเศษของแม่บ้านแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน เช่น ทำอาหาร การซักรีดผ้า การเลี้ยงเด็ก การดูแลต้อนรับแขก หรือการวางตัวที่ดี สิ่งนี้จะไม่เห็นจากแม่บ้านรายวัน เนื่องจากแม่บ้านกลุ่มนี้มีรูปแบบการจ้างงานที่ไม่ค่อยได้รับโอกาสให้แสดงทักษะในส่วนนี้ แตกต่างจากแม่บ้านอยู่ประจำ จะมีโอกาสให้นายจ้างได้รู้จักและเห็นว่าแม่บ้านกลุ่มดังกล่าวทำอะไรได้มากมาย เช่น การทำอาหารให้ครอบครัวของนายจ้าง การต้อนรับแขกของนายจ้าง ซึ่งจะทำให้การใช้ชีวิตของนายจ้างสะดวกสบายมากขึ้น
4. ค่าใช้จ่ายในการหาแม่บ้าน
การจัดหาแม่บ้านรายวัน กับแม่บ้านอยู่ประจำ จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆ เช่น สัญชาติ อายุ ประสบการณ์การทำงาน ทักษะพิเศษ รูปแบบการจ้างงานที่อาจจะจ้างเป็นงานๆ ไป หรือ จ้างให้ดูแลบ้านเป็นแม่บ้านรายเดือน เป็นต้น ซึ่งแม้ว่าหากนับเป็นเงินก้อนรายเดือน แม่บ้านอยู่ประจำจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า แต่ถ้าเทียบกับปริมาณของงานแม่บ้านรายวันจะสูงกว่า
5. มาตรฐานการทำงานของแม่บ้าน
หากพิจารณามาตรฐานการทำงานของแม่บ้านแล้ว แม่บ้านรายวัน โดยเฉพาะคนที่ไม่มีสังกัดบริษัทจัดหางาน จะมีรูปแบบการทำงาน หรือมาตรฐานการทำงานที่แตกต่างจากแม่บ้านอยู่ประจำ เมื่อพิจารณาผลงานการดูแลความสะอาดภายในบ้านจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับนายจ้างในแต่ละครั้งซึ่งจะมีทั้งถูกใจและไม่ถูกใจ ทำให้นายจ้างบางคนตัดสินใจหาแม่บ้านประจำผ่านศูนย์จัดหาแม่บ้านที่เชื่อถือได้ เพราะนอกจากจะการันตีในเรื่องของความเป็นมืออาชีพแล้ว แม่บ้านที่สังกัดบริษัทจัดหางานจะต้องผ่านการตรวจสอบประวัติ ผ่านการฝึกอบรมทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ รวมทั้งผ่านการทดลองงานจริง จึงมั่นใจได้ว่าแม่บ้านที่จ้างไปนั้นคุณภาพคุ้มราคาอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ รูปแบบการทำงาน และการจ้างของแม่บ้านรายวันกับ แม่บ้านอยู่ประจำ จะมีความแตกต่างกัน ทำให้นายจ้างมีตัวเลือกมากขึ้นว่าต้องการจ้างแม่บ้านรูปแบบใดเพื่อให้คุ้มค่าปริมาณงานกับงบประมาณที่เสียไป รวมทั้งความสะดวกในรูปแบบต่างๆ ที่นายจ้างต้องนำมาเปรียบเทียบกัน
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดที่แม่บ้านควรตระหนัก คือ ต้องเตรียมความพร้อมอยู่เสมอทั้งในเรื่องความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพ และประสบการณ์การทำงานที่สามารถทำให้นายจ้างประทับใจได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่แม่บ้านทั้งสองรูปแบบ ต้องทำคือ ตั้งใจทำงานอย่างมีคุณภาพ รักษามารยาท และให้เกียรตินายจ้างอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แม่บ้านได้มีงานทำและสร้างรายได้ไปนานๆ และหากใครที่ต้องการหางานแม่บ้านอย่างมีคุณภาพ มองหาศูนย์จัดหาแม่บ้านที่มีความน่าเชื่อถือ และมีการอบรมทักษะอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญ ควรรักษาจรรยาบรรณในวิชาชีพอย่างเคร่งครัด เพื่อให้งานแม่บ้านเป็นงานที่ใช่สำหรับคุณ
Cr. ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก Kiidu
10 วิธีง่ายๆ ในการดูแลผู้สูงวัยในครอบครัว
ด้วยอัตราการเกิดใหม่ของประชากรโลกลดลง ขณะเดียวกันจำนวนผู้สูงอายุและผู้ที่กำลังจะเป็นผู้สูงอายุกลับมีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากความเจริญทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยเองก็กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เช่นกัน
การดูแลผู้สูงอายุกลายเป็นเรื่องกังวลใจของหลายคน แต่ในความจริงแล้วหากดูแลผู้สูงวัยในครอบครัวด้วยความรักและความเข้าใจ การรับมือกับผู้สูงวัยจะกลายเป็นเรื่องง่ายๆ ในพริบตา
1. เรื่องกินเรื่องใหญ่
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รับประทานอาหารได้น้อยลง เนื่องจากอวัยวะในร่างกายเสื่อมสภาพลง โดยเฉพาะระบบย่อยอาหาร ทำให้ท้องอืดเฟ้อ รวมถึงปัญหาช่องปากและฟัน ส่งผลให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด นอกจากนี้ผู้สูงวัยมักดื่มน้ำน้อย และขาดการออกกำลังกาย จึงเป็นสาเหตุของอาการท้องผูก ดังนั้นอาหารของผู้สูงอายุจึงควรเป็นอาหารที่อ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย อาจใช้การหั่น สับ หรือการปั่นให้อาหารชิ้นเล็ก รวมถึงปรับเปลี่ยนวิธีปรุงเป็นการนึ่ง ตุ๋น หรือ ต้มอาหารให้นิ่ม
เน้นการรับประทานผักผลไม้ที่รับประทานง่ายและไม่หวานจัด เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับวิตามินและกากใยอาหารอย่างพอเพียง โปรตีนควรเลือกประเภทที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว หรือ นม เลี่ยงการปรุงอาหารรสชาติจัดจ้าน ลดหวาน มัน เค็ม รวมถึงดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียงอย่างน้อย 1-1.5 ลิตรต่อวัน ลดการดื่มน้ำหวาน แอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ ในช่วยบ่ายหรือเย็นเพราะจะทำให้นอนหลับยากขึ้น
2. ขยับร่างกายวันละนิดชีวิตยืนยาว
การออกกำลังกายช่วยให้อวัยวะในร่างกายแข็งแรงทุกระบบ ตั้งแต่ หัวใจ ปอด ระบบขับถ่าย กระดูกและกล้ามเนื้อ รวมถึงสมอง แต่ผู้สูงอายุหลายท่านไม่กล้าออกกำลังกายเพราะกลัวว่าจะพลัดตกหกล้ม หรือกลัวว่าจะไม่มีแรงออกกำลัง ดังนั้นผู้ดูแลจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงวัย เริ่มตั้งแต่จัดกิจกรรมออกกำลังกายที่ปลอดภัยเหมาะสมกับสภาพร่างกายและคอยให้ความช่วยเหลือ เช่น ช่วยพยุงให้ขยับกายบริหารเบาๆ พาเดินหรือเดินแกว่งแขนช้าๆ ช่วยยืดคลายกล้ามเนื้อ ให้ได้ทุกวันอย่างน้อยวันละ 10-20 นาที และค่อยๆเพิ่มความหนักและระยะเวลาขึ้นเรื่อยๆ หากผู้สูงวัยยังแข็งแรงอยู่ ควรออกกำลังกายให้ครบทั้ง 3 รูปแบบ คือ 1.คาร์ดิโอ (เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน แอโรบิคเบาๆ) 2.เล่นเวทเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และ 3.ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและฝึกการทรงตัวเพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว เพิ่มเติมตามความเหมาะสมครั้งละอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน
3. สุขอนามัยที่ดี
ลด ละ เลิกสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า พฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือการหกล้ม ดูแลควบคุมโรคประจำตัวตามแพทย์แนะนำ และพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ร่างกายแข็งแรงดีควรตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองโรคประจำวัย ของผู้สูงอายุ เช่น สมองเสื่อม ซึมเศร้า กระดูกพรุน ภาวะการมองเห็นหรือการได้ยินผิดปกติ ภาวะขาดสารอาหาร เป็นประจำทุกปี
4. การขับถ่ายก็สำคัญ
ผู้สูงอายุควรหมั่นสังเกตการขับถ่ายของตัวเองว่ามีปัญหาท้องผูก ท้องผูกสลับท้องเสียบ่อยๆ อุจจาระมีมูกเลือด หรือมีปัสสาวะอุจจาระเล็ดหรือไม่ ทั้งนี้ไม่ควรอายที่จะบอกปัญหาการขับถ่ายกับผู้ดูแลหรือคนใกล้ชิดเพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางอย่าง ซึ่งอาจจะสามารถแก้ไขได้ และผู้สูงวัยจะได้กลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง
5. ความสะอาด
ภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุไม่ค่อยแข็งแรงมักติดโรคได้ง่าย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้หรือมีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ผู้ดูแลควรใส่ใจดูแลฟัน เล็บ ผิวหนัง ผมและซอกหลืบต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงบริเวณอวัยวะเพศและก้น ไม่ควรปล่อยให้อับชื้นและเกิดการระคายเคือง อาหารก็สำคัญ ไม่ควรนำอาหารค้างคืนมารับประทาน หรือเอายาเก่าๆ ที่อาจหมดอายุมาใช้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
6. อุปกรณ์ช่วยเดิน
ควรใช้อุปกรณ์ช่วยทรงตัวตามที่แพทย์แนะนำ อุปกรณ์ควรมีขนาดเหมาะกับผู้สูงวัยแต่ละท่าน รองเท้าควรเลือกที่มีความนุ่ม กระชับเท้า หุ้มส้นหรือมีสายรัดข้อเท้าไม่ให้หลุดง่าย และพื้นมีดอกยางยึดเกาะได้ดีและไม่ลื่น อย่าอายที่จะต้องใช้อุปกรณ์ช่วยทรงตัวหากต้องไปนอกบ้านหรือเดินไกลๆ เพราะจะช่วยลดอุบัติเหตุ และเป็นผู้ช่วยทำให้ผู้สูงวัยสามารถออกไปใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้ ไม่กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง
7. ไม่ละเลยเรื่องยาและการพบแพทย์
ผู้ดูแลควรจัดยาให้ง่ายต่อการรับประทาน และใส่ใจให้ผู้สูงอายุรับประทานยาให้ตรงตามที่แพทย์แนะนำ ห้ามหยุดยาเอง และพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด ควรจดจำยาที่ผู้สูงอายุใช้ให้ได้และแจ้งรายการยาแก่แพทย์ทุกท่าน ทุกโรงพยาบาลที่ไปพบเพื่อป้องกันการจ่ายยาซ้ำซ้อน หรือยาที่ออกฤทธิ์ตีกัน นอกจากนี้เมื่อพบว่าผู้สูงอายุมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ หอบเหนื่อย ซึมลง อาเจียนหรือท้องเสีย ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 – 2 วัน ควรรีบพาผู้สูงอายุมาโรงพยาบาล ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
8. ปล่อยวาง พักผ่อน และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี
ความเครียด กังวล คิดลบ เป็นสารพิษที่รบกวนการทำงานของเซลล์สมอง ผู้สูงอายุและผู้ดูแลควรพยายามหาวิธีผ่อนคลายจิตใจ เลือกการพักผ่อนในแบบที่ชอบ เช่น เดินทาง ท่องเที่ยว อ่านหนังสือ ฟังเพลง เต้นรำ หรือทำงานอดิเรก จัดสภาพแวดล้อมให้สงบ สะอาด มีอากาศถ่ายเท ไม่มีเสียงดังเกินไป และควรออกมารับแสงแดดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ผู้ดูแลและครอบครัวควรคอยสังเกตอาการซึมเศร้าของผู้สูงอายุเสมอ เมื่อมีอาการมากจนกระทบต่อการกิน การนอน การคิดหรือจดจำ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพามาปรึกษาแพทย์
9. บ้านเป็นมิตรกับผู้สูงวัย
การจัดเตรียมบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม ภายในบ้านไม่ควรมีพื้นต่างระดับเพื่อป้องกันสะดุดล้ม พื้นห้องน้ำไม่ลื่น และควรแยกส่วนเปียกส่วนแห้งออกจากกัน ติดตั้งราวจับในห้องน้ำและในบริเวณที่ผู้สูงอายุใช้บ่อยๆ นอกจากนี้ยังควรดูแลให้แสงสว่างพอเพียง ปลั๊กและสวิตช์ควรไฟอยู่ในระดับที่ผู้สูงวัยเอื้อมถึงง่ายๆ โดยเฉพาะในห้องนอน
10. ความอบอุ่น
กำลังใจและความรักในครอบครัวสำคัญต่อผู้สูงอายุอย่างมาก หากอยู่บ้านเดียวกันควรมีกิจกรรมร่วมกัน ไม่แยกให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตแบบ “คนแก่” อย่างโดดเดี่ยว หาโอกาสพาลูกหลานไปเยี่ยมผู้สูงวัยที่อยู่เพียงลำพังอย่างสม่ำเสมอ พาท่านไปทำกิจกรรมที่คนหลายๆ วัยสามารถทำร่วมกันได้ ที่สำคัญควรใส่ใจในการ “รับฟัง” ท่านอย่างให้เกียรติ เพราะท่านก็ยังต้องการรู้สึกเป็นที่ยอมรับ และรู้สึกว่าตัวเองยังมีคุณค่าในสายตาของคนในครอบครัว
แม้ผู้สูงอายุจะเคยเป็นคนแข็งแรง แต่เมื่อร่างกายเสื่อมถอยลงจึงเป็นบุคคลที่ต้องการการดูแลอย่างเอาใจใส่และถูกสุขลักษณะ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยไม่มองข้ามการพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ และให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพประจำปี เพราะการป่วยไข้เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ดังนั้นการป้องกันจึงย่อมดีกว่าการรักษาเสมอ
3ขั้นตอนเทคนิคแก้เครียดแบบง่ายๆทำเองที่บ้านได้เลย
เทคนิคเดินแก้เครียด
🥇Step1
วางเท้าจากส้นเท้าจรดถึงปลายเท้าราว 2-3 นาที
🥈Step2
เดินลำตัวตรงเพื่อเพิ่มพื้นที่ปอด
🥉Step3
คิดเสมอว่า หายใจเข้านำพาความสุขเข้าปอด หายใจออกนำพาความเหนื่อยออกไป ทำ 3-4 นาที
Credit : www.cheewajit.com
ห้องน้ำผู้สูงอายุกับ 11 เรื่องต้องรู้เพื่อรับสังคมผู้สูงอายุ
ห้องน้ำผู้สูงอายุเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ เนื่องจากห้องน้ำธรรมดาภายในบ้านอาจไม่เอื้อต่อสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุได้ครบทุกด้านจนนำมาซึ่งอุบัติเหตุภายในห้องน้ำได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับบุคคลสูงอายุภายในครอบครัว ห้องน้ำผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีไว้ในบ้าน มาดูกันว่าเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับห้องน้ำผู้สูงอายุมีเรื่องใดบ้าง
เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับห้องน้ำผู้สูงอายุ
1. พื้นภายในและภายนอกห้องน้ำผู้สูงอายุ
2. ขนาดห้องน้ำผู้สูงอายุ
3. พื้นห้องน้ำผู้สูงอายุ
ค่ากันลื่น (ค่า R) | พื้นที่ที่เหมาะกับการติดตั้ง |
R9 | พื้นที่แห้ง เช่น ทางเข้า บันได ห้องรับประทานอาหาร ห้องรับแขก โถงทางเดิน |
R10 | บริเวณที่ต้องเปียกน้ำ เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ที่จอดรถ |
R11 | พื้นที่ภายนอกบ้าน หรือพื้นที่ที่ต้องโดนน้ำบ่อย เช่น ห้องน้ำผู้สูงอายุ รอบสระว่ายน้ำ บันไดนอกบ้าน |
R12 | พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง หรือมีการเปื้อนคราบน้ำมันหรือไขมัน รวมถึงสระว่ายน้ำ |
R13 | พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง หรือมีการเปื้อนคราบน้ำมันหรือไขมัน |
4. ประตูห้องน้ำผู้สูงอายุ
5. ไฟและแสงสว่าง
6. โถสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำผู้สูงอายุ
7. อ่างล้างหน้าภายในห้องน้ำผู้สูงอายุ
8. ฝักบัวอาบน้ำ
9. เก้าอี้นั่งอาบน้ำ
10. การแบ่งโซนเปียกโซนแห้งภายในห้องน้ำผู้สูงอายุ
11. การติดตั้งสัญญาณฉุกเฉิน
ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากคุณใช้บริการ ดูแลผู้สูงอายุจากเรา มาซากิเมท ดูแลดั่งครอบครัว
เครดิตบทความจาก ddproperty.com
ดูแล ผู้สูงวัย อย่างไร…ให้สุขกายสบายใจ
ดูแล ผู้สูงวัย อย่างไร…ให้สุขกายสบายใจ
ผู้สูงอายุ หรือ ผู้สูงวัย คือ บุคคลอันเป็นที่เคารพรักของลูกหลาน เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของทุกคนในครอบครัว ลูกหลานควรดูแลเอาใจใส่ท่านด้วยความรักและความเข้าใจ ถึงแม้ว่าสังคมไทยในปัจจุบันจะกลายเป็นสังคมเมือง ที่หลายคนต้องใช้ชีวิตเร่งรีบ แข่งขันกับเวลาโดยเฉพาะคนวัยทำงานอย่างลูกๆ หลานๆ อาจทำให้ไม่ค่อยมีโอกาสได้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน แต่มีสุภาษิตหนึ่งกล่าวไว้ว่า “สายน้ำไม่คอยท่า กาลเวลาไม่คอยใคร” ดังนั้น ลูกหลานทุกคนควรตระหนักถึงคุณค่าของเวลาและหาโอกาสปรนนิบัติท่านให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ท่านมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามวัย เพื่ออยู่กับลูกหลานให้นานที่สุด
ผู้สูงอายุ ตามคำจำกัดความขององค์กรสหประชาชาติ หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สำหรับประเทศไทยได้กำหนดนิยามผู้สูงอายุอย่างเป็นทางการตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 โดย “ผู้สูงอายุ” หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย ซึ่งปัจจุบันสังคมไทยนับได้ว่าเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” แล้ว เนื่องจากมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ตามเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ และนอกจากประชากรผู้สูงอายุจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังมีแนวโน้มอายุยืนยาวขึ้นเช่นกัน
เพื่อเป็นการแสดงถึงคุณค่าของผู้สูงอายุและให้คนทั่วไปได้ตระหนักว่า ตลอดชีวิตที่ผ่านมาผู้สูงอายุได้สร้างคุณประโยชน์และคุณงามความดีไว้มากมายกับสังคม องค์การสหประชาชาติจึงกำหนดให้ทุกวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี เป็น วันผู้สูงอายุสากล หรือ International Day of Older Persons สำหรับประเทศไทยเรานั้น คณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้มีมติอนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็น วันผู้สูงอายุ เพื่อรณรงค์ให้สังคมเห็นคุณค่าและความสำคัญของผู้สูงอายุ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์หรือปีใหม่ไทย โดยเป็นวันที่ทุกคนจะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งครอบครัว ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น ทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ เล่นน้ำสงกรานต์ ฯลฯ เป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของไทย
ความเป็น ผู้สูงอายุ นั้นมีความแตกต่างกันระหว่างหญิงและชาย ระหว่างเขตเมืองและชนบท อย่างที่เคยได้ยินกันมาว่าผู้หญิงจะแก่เร็วกว่าผู้ชาย และคุณยายในเมืองยังเปรี้ยวจี๊ดผิดกับคุณยายต่างจังหวัดที่มักอยู่ติดบ้าน อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุนั้นสามารถพิจารณาจาก เกณฑ์ตามอายุปีปฏิทิน, ดูจากลักษณะภายนอก เช่น หน้าตาดูมีอายุ ผิวหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก, มีพฤติกรรมจุกจิก ขี้บ่น ย้ำคิดย้ำทำ อารมณ์ไม่คงที่, สุขภาพและความจำไม่ดี ต้องพึ่งพาผู้อื่น และมีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพไปเป็น ปู่ ย่า ตายาย ทวด และเมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ ผู้สูงวัย จะได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากทางราชการ เช่น การได้รับเบี้ยยังชีพ ซึ่งเป็นสวัสดิการการดูแลหลังจากการทำงาน หรือเป็นวัยเดียวกับวัยเกษียณนั่นเอง
ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมโทรมถดถอยในด้านต่างๆ มากมาย ทั้งร่างกายและจิตใจ อาจมีโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลและรักษา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกระดูกพรุน โรคเกาต์ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคจอประสาทตา เป็นต้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งผู้สูงอายุบางรายอาจไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ และอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย ดังนั้น จุดประสงค์หลักของ การดูแลผู้สูงอายุ ก็คือการทำให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีอิสระ และมีคุณภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด ถึงแม้ร่างกายจะเสื่อมถอยหรือมีโรคประจำตัวอยู่ก็ตาม
โดยหน้าที่ของผู้ดูแลคือทำให้ ผู้สูงอายุ เกิดแรงจูงใจในการดูแลตนเอง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่างๆ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได้ คุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับผู้สูงอายุนั้นประกอบไปด้วย (1) การมีสุขภาพดี หมายถึง การมีสุขภาพกายที่ดี สุขภาพจิตที่ดี สุขภาพทางสังคมที่ดี และสุขภาพทางปัญญาที่ดี (2) การทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม โดยพึ่งตนเองให้มากที่สุด (3) การมีความมั่นคงในชีวิต ได้แก่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน ความมั่นคงในครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
เตรียมพร้อม…เพื่อตั้งรับอย่างมีคุณภาพด้วยตัวเอง
การเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพนั้น ลำดับแรก ผู้สูงอายุ จะต้องเริ่มดูแลตนเองโดยเตรียมพร้อมทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม ดังนี้
(1) การเตรียมทางด้านร่างกาย ผู้สูงอายุต้องยอมรับสภาพเสื่อมถอยของร่างกาย และต้องปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับสภาวะที่เป็นอยู่ โดยการลดภาระหน้าที่ให้น้อยลง อย่าหักโหก ควรทำงานที่ให้ความเพลิดเพลินและกระจายงานที่รับผิดชอบไปสู่ลูกหลาน หากไม่สบายให้รีบไปหาหมอ อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน หลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนที่ทำให้เกิดความเครียดทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสนใจในสิ่งจำเป็นพื้นฐานของตนเอง ได้แก่ อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย สุขอนามัย การออกกำลังกาย และการพักผ่อน
(2) การเตรียมทางด้านจิตใจ ผู้สูงอายุต้องเข้าใจและยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ฝึกตนให้อยู่ในหลักธรรม ทำตนให้เป็นที่เคารพของคนทั่วไป ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ใช้จ่ายให้พอดีกับรายรับ และหากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ
(3) การเตรียมทางด้านสังคม ผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มักอยู่ติดบ้านมากขึ้น ส่วนใหญ่ได้แต่นั่งๆ นอนๆ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกห่อเหี่ยวลงทุกวัน ดังนั้น ผู้สูงอายุต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมปัจจุบัน ไม่ยึดถือตัวตน ฟังความคิดเห็นของคนอื่น สนใจสิ่งใหม่ๆ คบเพื่อนต่างวัยเพื่อพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ออกสังคมบ้างเป็นครั้งคราว หรือเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุที่อยู่ใกล้บ้าน รวมทั้งเตรียมพร้อมทางด้านกฎหมาย โดยควรทำพินัยกรรมทิ้งไว้ในขณะที่ยังมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ เพื่อให้ลูกหลานได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของตนเอง
การดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม
ลำดับต่อมาคนในครอบครัวต้องช่วยกันดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุ ทั้งในเรื่องของปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลสุขภาพ การรักษาพยาบาล รวมถึงการดูแลให้ครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม โดยสามารถยึด หลัก 5 อ. ใน การดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. อาหาร ดูแลเรื่องโภชนาการในผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและลดความรุนแรงของโรคต่างๆ โดยผู้สูงอายุควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง และน้ำตาล) และไขมัน (น้ำมันจากสัตว์ พืช ไข่แดง เนย) เน้นทานโปรตีนโดยเฉพาะเนื้อปลา แต่ไข่แดงควรกินไม่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ กินผัก ถั่ว และธัญพืชต่างๆ ให้มาก เลือกกินผลไม้รสไม่หวานจัด ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้เกิดโรคตามมาได้ ดูแลเรื่องการใช้ยาในผู้สูงอายุซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะโอกาสเกิดอันตรายจากการใช้ยาในผู้สูงอายุมีมาก ดังนั้น ลูกหลานจึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
2. ออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ ควรออกกำลังกาย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ การบริหารร่างกายให้ได้ครบทุกส่วนของร่างกาย จะช่วยฝึกกล้ามเนื้อและความยืดหยุ่นของร่างกาย ทำให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้น เป็นการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย การออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เช่น ยืดเหยียด รำไทเก็ก รำไม้พลอง โยคะ เดินเร็ว ว่ายน้ำ เป็นต้น หลีกเลี่ยงการออกแรงเกินกำลัง การเกร็ง เบ่ง ยกน้ำหนัก การใช้ความเร็วสูง ไม่อยู่ในสถานที่ร้อนอบอ้าว อากาศถ่ายเทไม่สะดวก หรือกลางแดดจ้า
3. อนามัย ผู้สูงอายุ ควรลด ละ เลิก สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เหล้า บุหรี่ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ สังเกตการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบขับถ่าย และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จัดสิ่งแวดล้อมให้มีสภาพที่ถูกต้องเหมาะสม มีอากาศถ่ายเทสะดวก แสงสว่างพอเหมาะ มีความปลอดภัย พื้นต้องไม่ลื่น มีราวจับเพื่อช่วยในการทรงตัว โดยเฉพาะสถานที่ที่สามารถเกิดอุบัติเหตุได้บ่อย เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน ห้องครัว บริเวณบันไดขึ้น-ลง เป็นต้น โดยปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เช่น นอนไม่หลับในเวลากลางคืน, กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะเล็ดราดบ่อยครั้ง, พลัดตกหกล้มง่าย หากการดูแลไม่ดีพออาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น เกิดภาวะแทรกซ้อนและนอนติดเตียง ภาวะสับสนฉับพลัน (delirium) ซึ่งอาจเกิดอันตรายในระยะยาวหรือถึงแก่ชีวิตได้
4. อารมณ์ ฝึกควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ทำความรู้จักและเข้าใจตนเองถึงการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติจากวัยที่เพิ่มขึ้น ปล่อยวางกับเรื่องต่างๆ ให้ได้มากที่สุด ไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆ มองโลกในแง่บวก ทำจิตใจให้ร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เครียด เพื่อใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีความสุขและมีคุณภาพ
5. อดิเรก สร้างคุณค่าให้ตนเองโดยการหางานอดิเรกที่ชื่นชอบทำ เช่น ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ เข้าวัดฟังธรรม เข้าร่วมชมรมต่างๆ หาโอกาสพบปะสังสรรค์กับเพื่อนรุ่นเดียวกันเป็นครั้งคราว ช่วยเหลือให้คำปรึกษาแนะนำแก่ลูกหลานและคนรอบข้าง การได้ทำกิจกรรมต่างๆ จะทำให้ผู้สูงอายุไม่เหงา เกิดความอบอุ่น และรู้สึกถึงคุณค่าของตนเอง
อย่างที่เราทราบกันดีว่า ผู้สูงอายุมีความเสื่อมโทรมของร่างกาย และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยต่างๆ มากมายที่อาจเป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุต้องตกอยู่ในภาวะพึ่งพึงซึ่งแบ่งได้เป็น ประเภทติดบ้าน (เคลื่อนไหวเองได้แต่ออกนอกบ้านไม่ได้) และประเภทติดเตียง (เคลื่อนไหวไม่ได้) ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษจากผู้ดูแลและคนรอบข้าง
- การดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน เป็นผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวได้ แต่อาจจะมีความลำบากหรือติดขัดในการเคลื่อนไหว หรือทำสิ่งต่างๆ ผู้ดูแลควรอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุมากที่สุดในการเคลื่อนไหวเพื่อทำกิจวัติต่างๆ เช่น การติดราวจับในห้องน้ำ หรือพื้นที่มีความลาดชัน รวมถึงวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ ไม่วางเกะกะ, การจัดเตรียมยาที่ถูกต้องเหมาะสม อย่างการติดฉลากยาให้ละเอียด ตั้งนาฬิกาปลุกในโทรศัพท์มือถือเพื่อเตือนเวลารับประทานอาหาร เป็นต้น
- การดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ดูแลจำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องแผลกดทับโดยการหมั่นพลิกตัว เปลี่ยนท่านอนของผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง, การขับถ่าย ควรหมั่นดูแลเรื่องความสะอาดและความเปียกชื้น, อาหารควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ลดภาวะท้องอืดและท้องผูก รวมไปถึงการทำกายภาพบำบัดของผู้สูงอายุที่ต้องนอนติดเตียงให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อต่อต่างๆ ติดขัด
ความเข้าใจและความร่วมมือคือสิ่งสำคัญ
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การดูแลผู้สูงอายุประสบความสำเร็จ คือทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผู้ดูแลไม่ว่าจะเป็นลูกหลาน ญาติสนิท มิตรสหาย ควรพยายามเข้าหาผู้สูงอายุให้มากขึ้น หาโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับท่าน ต้องเข้าใจธรรมชาติของ ผู้สูงวัย ที่มักจะชอบเล่าเรื่องราวเก่าๆ ชอบน้อยใจลูกหลาน บางคนอาจมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น เอาแต่ใจตนเอง ทำตัวเหมือนเด็กหรือวัยรุ่น หรือที่เรียกว่า “วัยกลับ” ซึ่งนิสัยเหล่านี้อาจทำให้หลายคนหนักใจและเกิดความเบื่อหน่ายได้
ดังนั้น ลูกหลานควรเอาใจใส่ดูแลด้วยความรู้ ความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจ เพื่อตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุได้อย่างแท้จริง สำหรับผู้สูงอายุเองต้องเปิดใจ ไม่ยึดติดในตัวตน ไม่เก็บตัว หรือแยกตัวออกจากสังคม รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นให้มากขึ้น และมีความยืดหยุ่นในเรื่องต่างๆ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
สำหรับความรู้และคำแนะนำในข้างต้น หวังว่าจะเป็นคู่มือการดูแลผู้สูงอายุด้านร่างกายและจิตใจที่สามารถนำไปปรับใช้กับคุณพ่อคุณแม่ คุณตาคุณยายที่สูงอายุ เพื่อความสัมพันธ์ในครอบครัวอันดี และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีสมวัยของผู้สูงอายุ
ลองใช้บริการ มาซากิเมท ผู้ช่วยจัดหาคนดูแลผู้สูงอายุ ครบ จบทุกปัญหา เราดูแลเสมือนคนในครอบครัว
อ้างอิง https://shorturl.asia/CbYMj